Q&A

Q&A

เนื่องจากเป็นโรงงาน/อาคารควบคุม ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ) กระทรวงพลังงาน ตามกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงกำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและ อาคารควบคุม พ.ศ. 2552 ว่าด้วยเรื่องการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานกำหนดให้ต้องจัดให้มีการตรวจสอบรับรองการจัดการพลังงานโดยผู้ตรวจสอบฯภายนอก กฎหมายกำหนดให้ผู้ตรวจสอบฯ มาทำการตรวจความสอดคล้องของระบบตามประกาศกระทรวงฯ หมวด 5 ข้อ 21, 22, 23 และ24 (3) (ก), (ข)

โดยมีข้อความตามกฎกระทรวง ดังนี้

เจ้าของโรงงานควบคุมและเจ้าของอาคารควบคุมต้องจัดให้มีการตรวจสอบและรับรองการจัด การพลังงาน โดยผู้ตรวจสอบและรับรองที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ตามกฎกระทรวงกําหนดคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาต และการอนุญาตตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน พ.ศ. 2555 ตามรายละเอียดในภาคผนวก ก.7 และส่งรายงานดังกล่าวให้แก่อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานภายในเดือนมีนาคมของทุกปี

มีได้ค่ะ ตาม พ.ร.บ.โรงงานต้องมีผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน ดังนี้

กรณีที่ 1 : เป็นโรงงานควบคุมขนาดใหญ่ กฎหมายกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบอย่างน้อย 2 ท่าน

กรณีที่ 2 : เป็นโรงงานควบคุมขนาดเล็ก กฎหมายกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบอย่างน้อย 1 ท่าน

เจ้าของโรงงานควบคุมและเจ้าของอาคารควบคุมต้องดําเนินการดังต่อไปนี้

  1. แจ้งชื่อผู้รับผิดชอบด้านพลังงานที่พ้นจากหน้าที่
  2. แจงชื่อบุคคลซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานคนใหม่โดยส่งแบบแจ้งแต่งตั้ง (แบบ บพช.)
  3. ทั้งนี้ให้รีบดําเนินการแจ้งต่อ พพ. ภายใน 90 วัน นับแต่ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานเดิมพ้นจากหน้าที่

กรณีที่ 1 : ยื่นเสนอผลงานไปที่กระทรวงพลังงาน คุณสมบัติเป็นไปตามที่ พพ.กำหนด

กรณีที่ 2 : สมัครสอบบุคคลทั่วไปของสำนักพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน คุณสมบัติเป็นไป ตามที่ พพ.กำหนด

กรณีที่ 3 : สมัครเข้ารับการฝึกอบรมกับหน่วยงานที่ได้รับเลือกให้ฝึกอบรมจาก พพ. คุณสมบัติเป็นไปตามที่ พพ.กำหนด

หมายเหตุ : ทั้ง 3 ข้อนี้ เป็น ผชร.เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับทางโรงงานว่าจะเลือกส่งช่องทางไหน

กรณีที่ 1 : เป็นโรงงานควบคุมขนาดใหญ่ กฎหมายกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบอย่างน้อย 2 ท่าน โดย 1 ท่านต้องเป็น ผอส.
ดังนั้นหากทางโรงงานมี ผอส.อยู่จำนวน 2 ท่าน อีกหนึ่งท่านสามารถทำหน้าที่แทน ผชร.ได้ค่ะ
แต่ถ้าหากมี ผอส. อยู่ 1 ท่าน ให้ทำการส่งพนักงานเข้าอบรม/สอบ เพื่อเป็น ผชร./ผอส. เพิ่มอีก 1 ท่านค่ะ

กรณีที่ 2 : เป็นโรงงานควบคุมขนาดเล็ก กฎหมายกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบอย่างน้อย 1 ท่าน โดย 1 ท่านจะเป็น ผชร./ผอส. ก็ได้ค่ะ
ดังนั้นหากทางโรงงานมี ผอส.อยู่จำนวน 1 ท่าน สามารถทำหน้าที่แทน ผชร.ได้เลยค่ะ

ผิดกฎหมายค่ะ แต่สามารถชี้แจงกับทาง พพ. ได้ว่าที่ไม่ส่งเพราะสาเหตุอะไร หากเพิกเฉยไม่ดำเนินการตาม พ.ร.บ. , แจ้งรายละเอียดในการขอผ่อนผันอันเป็นเท็จ, ขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติตามหน้าที่ มีโทษทางอาญา ปรับ/จำคุก

ส่งได้ค่ะ ให้เขียนหมายเหตุในช่องลายเซ็นต์ไว้ว่ากำลังรออบรม หรือ กำลังดำเนินการก็ได้ค่ะ

แต่ถ้าให้ดี ถ้ามีเอกสารที่แสดงถึงรอการอบรมหรือกำลังดำเนินการแต่งตั้ง ให้แนบไปด้วยนะคะ

จำเป็นต้องส่งค่ะ พรบ.การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานระบุให้หน่วยงานที่ถูกกำหนดให้เป็นโรงงาน/อาคารควบคุมจะต้องดำเนินการจัดทำระบบการจัดการพลังงาน และจะต้องจัดส่งรายงานการจัดการพลังงานเป็นประจำทุกปี โดยในรายละเอียดของ พ.ร.บ.จะต้องจัดให้มีผู้รับผิดชอบด้านพลังงานตามระดับของการใช้พลังงาน

ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานต้องได้รับการขึ้นทะเบียนจาก พพ. โดยต้องมีคุณสมบัติตามที่ พพ. กําหนดและต้องแจ้งการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบภายใน 180 วัน นับแต่วันที่เป็นโรงงานควบคุม

กรณีที่ 1 : โรงงานเราขึ้นทะเบียนมาตั้งนานแล้ว แต่เรามาทำหน้าที่ดูแลแทน ซึ่งไม่ทราบว่าทางโรงงานขึ้นทะเบียนแล้วหรือยัง สามารถโทรสอบถามกับทางกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้โดยตรงค่ะ

กรณีที่ 2 : โรงงานพึ่งขึ้นทะเบียนเป็นโรงงานควบคุมและได้ยื่นเอกสารแบบวินิจฉัยพร้อมเอกสารต่างๆ ไปให้ที่ พพ.เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นให้รอเอกสารตอบกลับจากทาง พพ. เพื่อแจ้งเป็นโรงงานควบคุมที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย จะได้รับหมายเลข TTSIC-ID ตามด้วยหมายเลข 9 หลัก อาทิเช่น TSIC-ID : 99999-9999 หากส่งมาหลายสัปดาห์แล้ว สามารถโทรสอบถามได้ที่ พพ.โดยตรงค่ะ

  1. จัดให้มีผู้รับผิดชอบด้านพลังงานที่มีคุณสมบัติและจำนวนตามที่กําหนดในกฎกระทรวง ประจำโรงงานควบคุมภายในเวลาที่กําหนด
  2. ต้องดำเนินการจัดให้มีการอนุรักษ์พลังงานตามมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการการจัดการพลังงานที่กําหนดในกฎกระทรวง
  3. ส่งรายงานผลการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานให้ พพ. ภายในเดือนมีนาคมของทุกปีโดยต้อง ได้รับการตรวจสอบและรับรองจากผู้ตรวจสอบพลังงานที่ได้รับใบอนุญาตจาก พพ.

  1. เป็นโรงงาน
  2. อยู่ภายใต้บ้านเลขที่เดียวกัน
  3. ติดตั้งเครื่องวัดไฟฟ้า (มิเตอร์) ตัวเดียวหรือหลายตัวรวมกันมีขนาดตั้งแต่ 1,000 กิโลวัตต์ ขึ้นไป หรือติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าขนาดตั้งแต่ 1,175 กิโลโวลท์ แอมแปร์ ขึ้นไป หรือมีปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าความร้อนจากไอน้ำหรือพลังงานสิ้นเปลืองอย่างใดอย่างหนึ่งรวมกัน ในรอบ 1 ปี ที่ ผ่านมา เทียบเท่าพลังงานไฟฟ้า ตั้งแต่ 20 ล้านเมกะจูล ขึ้นไป
  4. หากเข้าข่ายตามนี้ต้องขอขึ้นทะเบียนเป็นโรงงานควบคุมจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน (พพ.)
  5. ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโรงงานควบคุม และได้รับหมายเลข TSIC-ID จาก พพ. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้