ดูบทความทั้งหมด  

ขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ ระบบออนกริด มีขั้นตอนการดำเนินการอย่างไรบ้าง จะต้องเตรียมเอกสารอะไร บทความนี้มีคำตอบ

อ่านต่อ

โครงการ Hydro-Floating Solar Hybrid นำร่องแห่งแรกที่เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี มีกำลังการผลิต 45 เมกะวัตต์

อ่านต่อ

เสียงนาฬิกาปลุกดังขึ้นเพื่อให้ทุกคนตื่นนอนในตอนเช้า พร้อมรับวันใหม่ที่สดใส กับพลังงานที่ค่อยๆถูกใช้ได้เริ่มต้นขึ้น

อ่านต่อ

ควรทำความสะอาดเมื่อพบว่ามีฝุ่นละออง คราบเขม่า หรือมีมูลนกมาเกาะบนแผง ซึ่งหากปล่อยไว้จะทำให้ประสิทธิภาพการผลิต

อ่านต่อ 

image

 

บริษัท เอ็นเนอร์ยี่ คอนเซอร์เวชั่น เทคโนโลยี่ จำกัด เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มวิศวกร กลุ่มนักวิทยาศาสตร์และกลุ่มนักวิชาการที่มีประสบการณ์และมีแนวความคิดใหม่ๆ ทางด้านวิศวกรรมพลังงานและวิศวกรรมงานระบบ เพื่อดำเนินธุรกิจในด้านการอนุรักษ์พลังงานที่มีคุณภาพ เพื่อให้ลูกค้าได้ประโยชน์สูงสุด และคุ้มค่าในการว่าจ้าง อีกทั้งก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์จริงในการอนุรักษ์พลังงานเพื่อลดต้นทุนในการดำเนินการทางธุรกิจของลูกค้า

ปัจจุบันประเทศไทยนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เสถียรภาพของประเทศที่จะแข่งขันในระดับนานาชาติไม่ดี อีกทั้งก่อผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมในด้านต่างๆ เป็นอย่างมาก การอนุรักษ์พลังงานของโรงงาน อาคาร รวมทั้งบ้านพักอาศัย นอกจากจะส่งผลให้ลดค่าใช้จ่ายและลดต้นทุนในการผลิตของตนแล้ว ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายและลดมลพิษที่เกิดจากการใช้พลังงานของประเทศอีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม

     

  1. เป็นโรงงาน
  2. อยู่ภายใต้บ้านเลขที่เดียวกัน
  3. ติดตั้งเครื่องวัดไฟฟ้า (มิเตอร์) ตัวเดียวหรือหลายตัวรวมกันมีขนาดตั้งแต่ 1,000 กิโลวัตต์ ขึ้นไป หรือติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าขนาดตั้งแต่ 1,175 กิโลโวลท์ แอมแปร์ ขึ้นไป หรือมีปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าความร้อนจากไอน้ำหรือพลังงานสิ้นเปลืองอย่างใดอย่างหนึ่งรวมกัน ในรอบ 1 ปี ที่ ผ่านมา เทียบเท่าพลังงานไฟฟ้า ตั้งแต่ 20 ล้านเมกะจูล ขึ้นไป
  4. หากเข้าข่ายตามนี้ต้องขอขึ้นทะเบียนเป็นโรงงานควบคุมจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน (พพ.)
  5. ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโรงงานควบคุม และได้รับหมายเลข TSIC-ID จาก พพ. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

  1. จัดให้มีผู้รับผิดชอบด้านพลังงานที่มีคุณสมบัติและจำนวนตามที่กําหนดในกฎกระทรวง ประจำโรงงานควบคุมภายในเวลาที่กําหนด
  2. ต้องดำเนินการจัดให้มีการอนุรักษ์พลังงานตามมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการการจัดการพลังงานที่กําหนดในกฎกระทรวง
  3. ส่งรายงานผลการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานให้ พพ. ภายในเดือนมีนาคมของทุกปีโดยต้อง ได้รับการตรวจสอบและรับรองจากผู้ตรวจสอบพลังงานที่ได้รับใบอนุญาตจาก พพ.

กรณีที่ 1 : โรงงานเราขึ้นทะเบียนมาตั้งนานแล้ว แต่เรามาทำหน้าที่ดูแลแทน ซึ่งไม่ทราบว่าทางโรงงานขึ้นทะเบียนแล้วหรือยัง สามารถโทรสอบถามกับทางกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้โดยตรงค่ะ

กรณีที่ 2 : โรงงานพึ่งขึ้นทะเบียนเป็นโรงงานควบคุมและได้ยื่นเอกสารแบบวินิจฉัยพร้อมเอกสารต่างๆ ไปให้ที่ พพ.เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นให้รอเอกสารตอบกลับจากทาง พพ. เพื่อแจ้งเป็นโรงงานควบคุมที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย จะได้รับหมายเลข TTSIC-ID ตามด้วยหมายเลข 9 หลัก อาทิเช่น TSIC-ID : 99999-9999 หากส่งมาหลายสัปดาห์แล้ว สามารถโทรสอบถามได้ที่ พพ.โดยตรงค่ะ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้