พลังงานไฟฟ้ามาจากไหน อุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านกินไฟมากไหม

Last updated: 12 ก.ย. 2566  |  141 จำนวนผู้เข้าชม  | 

พลังงานไฟฟ้า

   

1. พลังงานไฟฟ้ามาจากไหน?   

     พลังงาน หมายถึง ความสามารถในการทำงาน โดยทั่วไปแบ่งเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งมีเรียกกันหลายชื่อ เช่น กิโลวัตต์-ชั่วโมง (kWh) หรือหน่วยไฟฟ้า หรือ Unit) และพลังงานความร้อน ซึ่งเป็นพลังงานที่อยู่ในรูปของอุณหภูมิที่สูงหรือต่ำกว่าอุณหภูมิสิ่งแวดล้อม โดยทั่วไปใช้หน่วยเป็น เมกะจูล(MJ)

    พลังงานจำแนกตามลักษณะการนำมาใช้ประโยชน์เป็น 2 ประเภท คือ พลังงานสิ้นเปลือง (Conventional energy) และพลังงานหมุนเวียน (Renewable energy)

    พลังงานสิ้นเปลือง หมายถึง พลังงานที่ใช้แล้วหมดไป ไม่สามารถเกิดขึ้นมาใหม่ในระยะเวลาของวงจรชีวิตคนได้เช่น พลังงานที่ได้จากถ่านหิน หินน้ำมัน ทรายน้ำมัน น้ำมันดิบ น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ และนิวเคลียร์ เป็นต้น  บางครั้งเรียกว่า พลังงานฟอสซิล (Fossil Fuels) ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีการนำมาใช้ประมาณ 70% โดยส่วนใหญ่เป็น ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันเชื้อเพลิง และถ่านหิน

    พลังงานหมุนเวียน หมายถึง พลังงานที่ได้จากทรัพยากรธรรมชาติซึ่งสามารถเกิดขึ้นใหม่ได้ด้วยตัวเองหรือผลิตขึ้นใหม่ได้ เช่น ชีวมวล ชีวภาพ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานลม พลังงานคลื่น เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้ประมาณ 30% โดยส่วนใหญ่เป็น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวมวล พลังงานชีวภาพ และพลังงานน้ำ

     พลังงานไฟฟ้าไม่สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง แต่เกิดจากการแปรรูปของพลังงานสิ้นเปลือง และพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบต่างๆไปเป็นพลังงานไฟฟ้า ทำให้ต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งต่างๆมีความแตกต่างกัน

     พลังงานไฟฟ้า(kWh) = กำลังไฟฟ้า x ชั่วโมงการใช้งาน  (kWh หรือหน่วยไฟฟ้า หรือ Unit) เป็นตัวบอกว่าอุปกรณ์ไฟฟ้านั้นมีการใช้งานมากน้อยเท่าไร หรือบางที่เรียกว่ากินไฟกี่หน่วยนั่นเอง

     พลังไฟฟ้าหรือกำลังไฟฟ้า (Watt) = พลังงานไฟฟ้าต่อเวลา (จูล/ วินาที)  เพื่อใช้บอกขนาดของอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้า เช่น หลอดไฟฟ้าขนาด 60 วัตต์ แผงโซลาเซลล์ ขนาด 550 วัตต์ เป็นต้น

     ค่าไฟฟ้าหรือค่าพลังงานไฟฟ้า = บาท/หน่วย หรือ บาท/kWh หรือ บาท/Unit

2. อุปกรณ์ใช้ไฟฟ้าในบ้านกินไฟมากไหม? แล้วจะประหยัดได้อย่างไร?

ค่าไฟฟ้าต่อการเปิดใช้งาน 1 ชั่วโมง ที่ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยเท่ากับ 5 บาทต่อหน่วย
    ค่าไฟฟ้า(บาท/ชั่วโมง) = กำลังไฟฟ้าที่อุปกรณ์ใช้(วัตต์/1,000) x 5.0 บาท/หน่วย

     อุปกรณ์ใช้ไฟฟ้าบางชนิดใช้กำลังไฟฟ้ามาก แต่การใช้งานแต่ละครั้งใช้เวลาน้อย ก็จะใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ดังนั้นการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพนั้นจะต้อง คิดก่อนใช้ ใช้เท่าที่จำเป็น ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเลือกซื้ออุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานฉลากเบอร์ 5 ในขนาดที่เหมาะสมมาทดแทนของเดิม จะลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้มากกว่า 30%



 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้