ค่าFt คืออะไร? ภาครัฐมีแนวทางแก้ปัญหาค่าไฟแพงอย่างไร?

Last updated: 12 ก.ย. 2566  |  482 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ค่า Ft

   

     ค่า Ft คืออะไร?
     ค่า Ft = ค่าเชื้อเพลิงฐาน + ประมาณการค่าเชื้อเพลิงโรงไฟฟ้า กฟผ. + ประมาณการค่าซื้อไฟฟ้าของ กฟผ. + ประมาณการค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐ

     เดิม ค่า Ft ย่อมาจาก ‘Float time’ ใช้อธิบายการลอยค่าของต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ราคาเชื้อเพลิง อัตราเงินเฟ้อ และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น
     หลังจากเดือนตุลาคม ปี 2548 เป็นต้นมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่ใช้ในการคำนวณสูตร Ft ให้คงเหลือเพียงต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า และค่าซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตเอกชนและประเทศเพื่อนบ้าน ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้ปัจจุบันค่า Ft ย่อมาจากคำว่า ‘Fuel Adjustment Charge (at the given time)’ แทน ซึ่งมีการประกาศใช้ทุก 4 เดือน
     มติ กพช. เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2565 กำหนดให้จัดสรรก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยหลังเข้าโรงแยกก๊าซฯ มาใช้ผลิตไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยก่อน เพื่อให้การคิดค่า Ft งวดเดือน ม.ค.-เม.ย. 2566 นี้ จำเป็นต้องแยกค่า Ft เป็น 2 ส่วน ได้แก่ ค่า Ft สำหรับกลุ่มบ้านอยู่อาศัย และค่า Ft สำหรับกลุ่มอื่นๆ ที่ไม่ใช่บ้านอยู่อาศัย
     ค่า Ft ประจำ เดือนมกราคม – เมษายน 2566 ตามมติคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) กำหนดค่า Ft สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยเมื่อวันที่ 28 ธ.ค.2565 หน่วยละ 0.9343 บาท หรือ 93.43 สตางค์ (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ส่วนค่า Ft สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นๆ (ที่ไม่ใช่ประเภทบ้านอยู่อาศัย) หน่วยละ 1.5492 บาท หรือ 154.92 สตางค์ (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
    
   

ภาครัฐมีแนวทางแก้ปัญหาค่าไฟแพงอย่างไร?

  1. ช่วยเหลือประชาชนที่ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย
    1.1 ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1.1.1 ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วย ติดต่อกัน 3 เดือน และผู้ใช้ไฟฟ้าที่ได้ลงทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ ได้รับสิทธิค่าไฟฟ้าฟรีตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2566 เป็นต้นไป
    1.2 มติคณะรัฐมนตรี มี.ค.2566 เสนอ กกต. ขอใช้งบประมาณในการช่วยค่าไฟฟ้าประชาชน
        1.2.1 ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 kWh คิด Ft ที่ 1.39 สต. (คิดเป็น 56% ของครัวเรือนทั้งหมด)
        1.2.2 ใช้ไฟฟ้า 151 - 300 kWh  คิด Ft ที่ 26.39 สต. (คิดเป็น 22% ของครัวเรือนทั้งหมด)
        1.2.3 ใช้ไฟฟ้า 301 - 500 kWh ให้ส่วนลดค่าไฟฟ้า 150 บาท
  2. ทบทวนแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP : Power Development Plan) จากแผน PDP 2018 (2564-2573) เป็น PDP 2022 (2565-2580)
  3. เร่งการผลิต ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย คาดว่าจะผลิตได้เต็มพิกัดในปี 2567
  4. เพิ่มกำลังการผลิตโรงไฟฟ้าถ่านหิน โดยต้องทำ EIA ใหม่



Credit | Egat

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้